Skip to main content

Posts

Showing posts from January, 2013

คำหยาบ กับ "ความจริงใจ"

หมู่นี้เจอคนที่มีความคิดแปลกเยอะ วันนี้เลยได้เอนทรี่ที่เกิดขึ้นจากความตะหงิดใจเกี่ยวกับตรรกะแปลกๆของคนมาอีกหนึ่งเอนทรี่   จริงๆแล้วความคับข้องใจที่จะระบายในเอนทรี่นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ได้พบเจอมานานมาก เรียกได้ว่าพบเจอมาตลอดเวลา ตลอดชีวิตเลยก็ได้   นั่นคือการใช้ "คำหยาบ" ในชีวิตประจำวัน   จำได้ว่าสมัยเป็นเด็ก ถูกเลี้ยงและเติบโตมากับปู่ย่าตายาย ผู้สูงอายุในครอบครัวสอนไว้นักหนาว่า "เป็นลูกผู้หญิงจะพูดจะทำอะไรก็ต้องระวังกิริยามารยาท ทั้งเดินเหิน นั่งนอน และที่สำคัญก็คือการพูดให้ระวังให้หนัก"   เราไม่ใช่เด็กเรียบร้อย อยู่บ้านก็เล่นซนปีนป่ายทำข้าวของเสียหายตามประสาเด็ก หลายครั้งที่โดนขนาบเรื่องกิริยามารยาท แต่ไม่ว่าจะทำอะไร จะซนแค่ไหน พอผู้ใหญ่เอือมก็ปล่อยๆเสียบ้าง   จะมีก็เรื่องเดียวที่ผู้ใหญ่ในบ้านไม่เคยปล่อยให้ผ่านเลยก็คือ การพูดคำหยาบ   คำจำกัดความของคำหยาบในครอบครัวเรากำหนดมาตรฐานไว้สูงพอสมควร นั่นคือตั้งแต่คำว่า กู มึง ข้า แก ไอ้ ไปจนถึงคำสบถต่างๆ อย่างคำประเภท "อุบาทว์" "ชิบหาย" ... ไม่ต้องสงสัยเ

มานยากตรงหนายกะกานชั้ยพาสาไทยหั้ยถูกต้อง??

ครั้งหนึ่ง เคยได้จัดเสวนาเรื่องภาษาไทย-ภาษาวัยรุ่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติที่โรงเรียน...ที่ต้องบอกว่าครั้งหนึ่ง เพราะตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแล้วยังจำได้ถึงประเด็นที่พูดถึงเรื่องภาษาไทยปกติ (ไม่อยากใช้คำว่าถูกต้อง หรือแบบแผน) กับภาษาไทยที่ใช้กันในอินเตอร์เนต หรือภาษาวัยรุ่น หรือภาษาแชทอะไรทำนองนั้น ว่าเพราะอะไรเราถึงเขียน(หรือพิมพ์)ให้ถูกต้องไม่ได้ ทำไมต้อง ช้าน ร้าก เทอ ทำไมไม่เป็น ฉันรักเธอ หรือชั้นรักเธอ โอเคถ้าเราจะมองว่ามันเป็นการเขียนแบบสื่ออารมณ์ คือถ้าเขียนแบบปกติมันจะไม่ได้อารมณ์ ไม่ได้"ฟีล" ในการสื่อความหมาย อีกอย่างเวลาอ่านคำที่เขียนแบบนั้น มันก็ฟังเป็นภาษาพูด ดูเป็นธรรมชาติดีออก ก็ใช่....อันนี้ยอมรับ เพราะตัวเองก็รู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน อีกอย่างที่เด็กๆ(ของเรา)บอกกันก็คือ มันสะดวกในการพิมพ์มากกว่าการสะกดอย่างถูกต้อง เมื่อต้องแชท หรือตอบข้อความที่ใช้ความเร็วในการพิมพ์ ขืนมานั่งสะกดให้ถูกพอดีไม่ทันกิน เพื่อนมันพูด(พิมพ์)ไปถึงไหนต่อไหนแล้ว อันนี้คล้ายๆจะเกือบเห็นด้วย แต่ก็ยังสงสัย ฟังจากข้อ(อ้าง)ที่ลูกๆบอกมา สามารถตีความได้ว่า 1. (มรึง---