Skip to main content

Posts

ฉัน ในวันที่สมองไร้ประสิทธิภาพ

หลายวันมานี้เป็นวันที่ทำอะไรไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยหน่ายและเนือยไปทุกอย่าง เป็นช่วงเวลาที่ไม่ productive ไม่ effective อะไรทั้งสิ้น ทำงานได้ไม่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่มีพลัง แถมยังรู้สึกไม่สบายตัวอีก ปวดตา (อันนี้คงมาจากไม่ทำงานแต่ยังเล่นเกม ดูหนัง) ปวดหลัง (ก็คงมาจากการนั่งดูหนังและเล่นเกม) ปวดไหล่ (จากการแบกกระเป๋า) แต่ก็ไม่รู้จะจัดการยังไงกับชีวิต หรืออาจจะขี้เกียจเกินกว่าจะจัดการก็ได้ อยากออกไปเที่ยว ไปเดินเล่น ดูถนนหนทางต่าง ๆ แต่ก็อ้างว่าต้องทำงาน (แต่จริง ๆ ก็ไม่ทำ) อ้างว่าอากาศไม่ดี ฝนตก สุดท้ายก็ได้แต่นั่งจ้องมองหน้าจอคอมพ์เหมือนเคย ตกเย็น ปิดคอมพ์ กลับบ้าน ไม่ได้งานการอะไรเหมือนเคย ช่วงนี้เหมือนมีอะไรในสมองเยอะ ถึงจะไม่ทำงาน แต่ก็ดูหนังไปหลายเรื่อง ตามหาร้านโกโก้อร่อย ๆ ได้อ่านเรื่องราว ความคิดเห็นของคนต่าง ๆ แล้วก็รู้สึกว่ามีเรื่องที่อยากเขียน อยากบันทึก หรือแสดงความคิดเห็น แต่พอเอาจริง ๆ แล้วก็ไม่รู้จะเขียนอะไร หรือเขียนเรื่องเหล่านั้นออกมายังไง  หลังจากอึดอัดมาหลายวัน คิดว่าวันนี้อยากจะลองเขียนอะไรออกมาหน่อย อาจจะเป็นแค่การบ่น หรือพูดเรื่องไร้สาระจับประเด็นไม่ได้
Recent posts

หน่วยกิตนั้น สำคัญไฉน?

บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสียงบ่นของเด็กหลายคนที่โอดครวญว่า "งานเยอะ" บ้าง "ทำไม่ทัน" บ้าง และ "อาจารย์สั่งงานมากกว่าหน่วยกิต" บ้าง ทำให้คิดขึ้นมาได้ถึงเรื่องของตัวเลขที่ปรากฏท้ายชื่อรายวิชาที่เรียกว่า "หน่วยกิต" ว่ามีผลต่อการเรียนการสอนอย่างไร "หน่วยกิต" เป็นการให้ค่าน้ำหนักแก่รายวิชาต่างๆ เช่น วิชาที่มีจำนวนหน่วยกิตมาก ก็(มีแนวโน้ม)จะมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การบ้าน การคิดคะแนน ที่เข้มข้นมาก วิชาที่หน่วยกิตน้อย ก็อาจจะมีเนื้อหาน้อยกว่า การบ้านน้อยกว่า มีการประเมินผลง่ายกว่า (นึกถึงตอนเรียนมัธยม วิชาพละมีหน่วยกิต 0.5 - 1 นก. จะเรียนสัปดาห์ละ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่โรงเรียน เรียนง่าย ไม่ต้องท่องจำเนื้อหา สอบชิล (เหรอ???) ส่วนวิชาเลขที่มี 2.5 นก. จะเรียนสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง การบ้านเพียบ สอบที่ก็อ่านหนังสือกันแทบอ้วก) การกำหนดหน่วยกิตของการศึกษาระดับประถมหรือมัธยมจะกำหนดตามหลักสูตรการศึกษาโดยยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของแต่ละหลักสูตรเป็นตัวกำหนด โดยแต่ละโรงเรียนก็อาจจะกำหนดค่าหน่วยกิตของวิชาต่างๆแตกต่างกันแล้วแต่ว่าโรงเรียนนั้

คำหยาบ กับ "ความจริงใจ"

หมู่นี้เจอคนที่มีความคิดแปลกเยอะ วันนี้เลยได้เอนทรี่ที่เกิดขึ้นจากความตะหงิดใจเกี่ยวกับตรรกะแปลกๆของคนมาอีกหนึ่งเอนทรี่   จริงๆแล้วความคับข้องใจที่จะระบายในเอนทรี่นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ได้พบเจอมานานมาก เรียกได้ว่าพบเจอมาตลอดเวลา ตลอดชีวิตเลยก็ได้   นั่นคือการใช้ "คำหยาบ" ในชีวิตประจำวัน   จำได้ว่าสมัยเป็นเด็ก ถูกเลี้ยงและเติบโตมากับปู่ย่าตายาย ผู้สูงอายุในครอบครัวสอนไว้นักหนาว่า "เป็นลูกผู้หญิงจะพูดจะทำอะไรก็ต้องระวังกิริยามารยาท ทั้งเดินเหิน นั่งนอน และที่สำคัญก็คือการพูดให้ระวังให้หนัก"   เราไม่ใช่เด็กเรียบร้อย อยู่บ้านก็เล่นซนปีนป่ายทำข้าวของเสียหายตามประสาเด็ก หลายครั้งที่โดนขนาบเรื่องกิริยามารยาท แต่ไม่ว่าจะทำอะไร จะซนแค่ไหน พอผู้ใหญ่เอือมก็ปล่อยๆเสียบ้าง   จะมีก็เรื่องเดียวที่ผู้ใหญ่ในบ้านไม่เคยปล่อยให้ผ่านเลยก็คือ การพูดคำหยาบ   คำจำกัดความของคำหยาบในครอบครัวเรากำหนดมาตรฐานไว้สูงพอสมควร นั่นคือตั้งแต่คำว่า กู มึง ข้า แก ไอ้ ไปจนถึงคำสบถต่างๆ อย่างคำประเภท "อุบาทว์" "ชิบหาย" ... ไม่ต้องสงสัยเ

มานยากตรงหนายกะกานชั้ยพาสาไทยหั้ยถูกต้อง??

ครั้งหนึ่ง เคยได้จัดเสวนาเรื่องภาษาไทย-ภาษาวัยรุ่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติที่โรงเรียน...ที่ต้องบอกว่าครั้งหนึ่ง เพราะตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแล้วยังจำได้ถึงประเด็นที่พูดถึงเรื่องภาษาไทยปกติ (ไม่อยากใช้คำว่าถูกต้อง หรือแบบแผน) กับภาษาไทยที่ใช้กันในอินเตอร์เนต หรือภาษาวัยรุ่น หรือภาษาแชทอะไรทำนองนั้น ว่าเพราะอะไรเราถึงเขียน(หรือพิมพ์)ให้ถูกต้องไม่ได้ ทำไมต้อง ช้าน ร้าก เทอ ทำไมไม่เป็น ฉันรักเธอ หรือชั้นรักเธอ โอเคถ้าเราจะมองว่ามันเป็นการเขียนแบบสื่ออารมณ์ คือถ้าเขียนแบบปกติมันจะไม่ได้อารมณ์ ไม่ได้"ฟีล" ในการสื่อความหมาย อีกอย่างเวลาอ่านคำที่เขียนแบบนั้น มันก็ฟังเป็นภาษาพูด ดูเป็นธรรมชาติดีออก ก็ใช่....อันนี้ยอมรับ เพราะตัวเองก็รู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน อีกอย่างที่เด็กๆ(ของเรา)บอกกันก็คือ มันสะดวกในการพิมพ์มากกว่าการสะกดอย่างถูกต้อง เมื่อต้องแชท หรือตอบข้อความที่ใช้ความเร็วในการพิมพ์ ขืนมานั่งสะกดให้ถูกพอดีไม่ทันกิน เพื่อนมันพูด(พิมพ์)ไปถึงไหนต่อไหนแล้ว อันนี้คล้ายๆจะเกือบเห็นด้วย แต่ก็ยังสงสัย ฟังจากข้อ(อ้าง)ที่ลูกๆบอกมา สามารถตีความได้ว่า 1. (มรึง---