Skip to main content

มานยากตรงหนายกะกานชั้ยพาสาไทยหั้ยถูกต้อง??


ครั้งหนึ่ง เคยได้จัดเสวนาเรื่องภาษาไทย-ภาษาวัยรุ่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติที่โรงเรียน...ที่ต้องบอกว่าครั้งหนึ่ง เพราะตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแล้วยังจำได้ถึงประเด็นที่พูดถึงเรื่องภาษาไทยปกติ (ไม่อยากใช้คำว่าถูกต้อง หรือแบบแผน) กับภาษาไทยที่ใช้กันในอินเตอร์เนต หรือภาษาวัยรุ่น หรือภาษาแชทอะไรทำนองนั้น ว่าเพราะอะไรเราถึงเขียน(หรือพิมพ์)ให้ถูกต้องไม่ได้ ทำไมต้อง ช้าน ร้าก เทอ ทำไมไม่เป็น ฉันรักเธอ หรือชั้นรักเธอ

โอเคถ้าเราจะมองว่ามันเป็นการเขียนแบบสื่ออารมณ์ คือถ้าเขียนแบบปกติมันจะไม่ได้อารมณ์ ไม่ได้"ฟีล" ในการสื่อความหมาย อีกอย่างเวลาอ่านคำที่เขียนแบบนั้น มันก็ฟังเป็นภาษาพูด ดูเป็นธรรมชาติดีออก

ก็ใช่....อันนี้ยอมรับ เพราะตัวเองก็รู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน

อีกอย่างที่เด็กๆ(ของเรา)บอกกันก็คือ มันสะดวกในการพิมพ์มากกว่าการสะกดอย่างถูกต้อง เมื่อต้องแชท หรือตอบข้อความที่ใช้ความเร็วในการพิมพ์ ขืนมานั่งสะกดให้ถูกพอดีไม่ทันกิน เพื่อนมันพูด(พิมพ์)ไปถึงไหนต่อไหนแล้ว

อันนี้คล้ายๆจะเกือบเห็นด้วย แต่ก็ยังสงสัย

ฟังจากข้อ(อ้าง)ที่ลูกๆบอกมา สามารถตีความได้ว่า 1. (มรึง---เอาบ้างแบบจงใจ)ไม่สามารถจะสะกดคำให้ถูกต้องได้ หรือว่าการสะกดคำให้ถูกต้องนั้นต้องใช้เวลานานมากสำหรับเด็กๆ จึงทำให้เสียเวลานานในการพิมพ์ หรือ 2. สมัยนี้เค้าสอนคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สอนพิมพ์ดีดเหมือนสมัยก่อน นักเรียนเลยไม่สามารถพิมพ์สัมผัส หรือพิมพ์โดยใช้ความเร็วและถูกต้องได้ หรือ 3. (มรึง--อีกครั้ง) ไม่มีปัญญาแม้แต่จะพิมพ์ให้ถูก พิมพ์ให้เร็วทั้งๆที่วันๆก็ใช้ชีวิตนั่งแชทอยู่หน้าจอคอมราวกับออกจากท้อง แม่ก็เอาคอมติดมาด้วยเนี่ยนะ?

...แล้วเป็นผู้ใหญ่ เ...อกอะไรด้วย? อยากพิมพ์ถูก พิมพ์เร็วก็พิมพ์ไปดิ๊ Guจะพิมพ์ผิด พิมพ์ช้าแล้วมานปายหนักส่วนหนายของเมิง????

มันหนักส่วนที่(เมิง)ไม่พิมพ์ผิดแค่ในคอม แต่(เมิง)ลามมาพิมพ์ผิดในเรียงความของGuด้วยไง แสดดดดดด

ทั้งๆที่ตัวเอง(และเชื่อมั่นว่าอาจารย์ทั้งประเทศ)สอนว่าภาษาเขียนกับภาษา พูด ภาษาทางการกับไม่เป็นทางการต่างกันยังไง เวลาแชทกับเวลาเขียนถึงอาจารย์ต้องใช้คำแบบไหน
เมิงก็ยังเอาภาษาที่ใช้กับเพื่อนมาใช้กับกรู T^T

"อาจารย์.....
พุ่งนี้ผมกะเพื่อนขอนัดพบจารย์ตอนบ่ายสอง
....(ชื่อมัน)......"

Guเพื่อนเมิงเรอะ?

เมิงนัดอาจารย์หรือนัดสาวกินข้าว

แสดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ที่ช้ำใจที่สุดก็คงเป็นเรียงความที่นักเรียนที่รักเขียนส่งการบ้าน

เนื้อหาดี ความคิดบรรเจิด องค์ประกอบเป็นเลิศ แต่........

"......ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นก้อเพราะคนใช้พลังงานมาก และไม่รักสาสิ่งแวดล้อม"

@#^*$(&)*&_(*_)(^#(*_(&$)(@+_()@&($^(N>

อยากด่าเป็นภาษาบาลี -*-'

เคยถามน้องที่ยังเป็นวัยรุ่นวัยเรียนว่าทำไม?
"ตรงๆเลยพี่ ก็มันพิมพ์ง่ายกว่าตั้งเยอะ"

ก็มานั่งดู...มันง่ายกว่าตรงไหน(วะ)
ถ้าน้องพิมพ์คำว่า ใจ แบบปกติ น้องจะกดคีย์บอร์ด 2 ครั้ง คือ และ แต่ถ้าน้องพิมพ์แบบ"ง่ายกว่า" ของน้องคือ จัย น้องต้องกดคีย์บอร์ดถึง 3 ครั้ง
เช่นเดียวกันกับคำว่า ก็ กับ ก้อ  ให้ กับ หั้ย หรือ ไหน กับ หนาย
ส่วนเทอ กับ เธอ น้องอ้างว่าไม่อยากกด shift อันนั้นก็เข้าใจ
 
แต่มันก็ยังไม่ใช่ "คำอธิบาย" อยู่ดี

แล้วจะบอกว่า ไอ้ที่บอกว่าพิมพ์ผิดเรื่องของกูเนี่ย บอกไว้นะว่า ไม่ใช่
 
ก็น้องคนเดียวกันนี่แหละเขียนบทหนังสั้นส่งเข้าประกวด เนื้อหาดี ไอเดียบรรเจิดอีกเหมือนกัน แต่สะกดผิด เพราะคิดว่าเขียนบทสนทนา ก็สะกดให้เหมือนภาษาพูด หรือภาษาที่มันใช้พิมพ์อยู่

ผล???

กรรมการตีกลับมาตั้งแต่อ่านคำแรก
แถมคอมเม้นท์เรื่องการใช้ภาษาด้วยหมึกแดง ตัวควายมากที่หน้าปก
"หน้าปก" ที่ส่งในนามของโรงเรียน
อายเค้ามั้ยคะ?
หรือจะยังคิดว่า "ก็เรื่องของกู" ?


Repost from: http://deppdeppfan.exteen.com/20080219/entry

Comments

Popular posts from this blog

หน่วยกิตนั้น สำคัญไฉน?

บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสียงบ่นของเด็กหลายคนที่โอดครวญว่า "งานเยอะ" บ้าง "ทำไม่ทัน" บ้าง และ "อาจารย์สั่งงานมากกว่าหน่วยกิต" บ้าง ทำให้คิดขึ้นมาได้ถึงเรื่องของตัวเลขที่ปรากฏท้ายชื่อรายวิชาที่เรียกว่า "หน่วยกิต" ว่ามีผลต่อการเรียนการสอนอย่างไร "หน่วยกิต" เป็นการให้ค่าน้ำหนักแก่รายวิชาต่างๆ เช่น วิชาที่มีจำนวนหน่วยกิตมาก ก็(มีแนวโน้ม)จะมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การบ้าน การคิดคะแนน ที่เข้มข้นมาก วิชาที่หน่วยกิตน้อย ก็อาจจะมีเนื้อหาน้อยกว่า การบ้านน้อยกว่า มีการประเมินผลง่ายกว่า (นึกถึงตอนเรียนมัธยม วิชาพละมีหน่วยกิต 0.5 - 1 นก. จะเรียนสัปดาห์ละ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่โรงเรียน เรียนง่าย ไม่ต้องท่องจำเนื้อหา สอบชิล (เหรอ???) ส่วนวิชาเลขที่มี 2.5 นก. จะเรียนสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง การบ้านเพียบ สอบที่ก็อ่านหนังสือกันแทบอ้วก) การกำหนดหน่วยกิตของการศึกษาระดับประถมหรือมัธยมจะกำหนดตามหลักสูตรการศึกษาโดยยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของแต่ละหลักสูตรเป็นตัวกำหนด โดยแต่ละโรงเรียนก็อาจจะกำหนดค่าหน่วยกิตของวิชาต่างๆแตกต่างกันแล้วแต่ว่าโรงเรียนนั้

คำหยาบ กับ "ความจริงใจ"

หมู่นี้เจอคนที่มีความคิดแปลกเยอะ วันนี้เลยได้เอนทรี่ที่เกิดขึ้นจากความตะหงิดใจเกี่ยวกับตรรกะแปลกๆของคนมาอีกหนึ่งเอนทรี่   จริงๆแล้วความคับข้องใจที่จะระบายในเอนทรี่นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ได้พบเจอมานานมาก เรียกได้ว่าพบเจอมาตลอดเวลา ตลอดชีวิตเลยก็ได้   นั่นคือการใช้ "คำหยาบ" ในชีวิตประจำวัน   จำได้ว่าสมัยเป็นเด็ก ถูกเลี้ยงและเติบโตมากับปู่ย่าตายาย ผู้สูงอายุในครอบครัวสอนไว้นักหนาว่า "เป็นลูกผู้หญิงจะพูดจะทำอะไรก็ต้องระวังกิริยามารยาท ทั้งเดินเหิน นั่งนอน และที่สำคัญก็คือการพูดให้ระวังให้หนัก"   เราไม่ใช่เด็กเรียบร้อย อยู่บ้านก็เล่นซนปีนป่ายทำข้าวของเสียหายตามประสาเด็ก หลายครั้งที่โดนขนาบเรื่องกิริยามารยาท แต่ไม่ว่าจะทำอะไร จะซนแค่ไหน พอผู้ใหญ่เอือมก็ปล่อยๆเสียบ้าง   จะมีก็เรื่องเดียวที่ผู้ใหญ่ในบ้านไม่เคยปล่อยให้ผ่านเลยก็คือ การพูดคำหยาบ   คำจำกัดความของคำหยาบในครอบครัวเรากำหนดมาตรฐานไว้สูงพอสมควร นั่นคือตั้งแต่คำว่า กู มึง ข้า แก ไอ้ ไปจนถึงคำสบถต่างๆ อย่างคำประเภท "อุบาทว์" "ชิบหาย" ... ไม่ต้องสงสัยเ